บัวบก
ชื่อสามัญ : Gotu kola การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centella asiatica (L.) Urb. จัดอยู่ในวงศ์ผักชี
(APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE)
อาณาจักร : Plantae
หมวด
: Magnoliophyta
ชั้น
: Magnoliopsida
อันดับ
: Apiales
วงศ์
: Apiaceae
สกุล
: Centella
สปีชีส์ : C.
asiatica
ชื่ออื่นๆ : ผักหนอก ผักแวน
จำปาเครือ กะบังนอก ปะหนะเอขาเด๊าะ
บัวบกเป็นพืชที่พบมากบริเวณแถบแอฟริกาใต้
ต่อมาประเทศอินเดียได้นำมาใช้เป็นยา สมุนไพร โดยได้บันทึกไว้ใน Text
Book of Codified Sanskrit (Ayurveda) เป็นภาษาสันสกฤต ว่า Manduk-parni ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19 บัวบกได้ถูกนำเข้าไปบันทึกเป็น Monograph ใน Indian Pharmacopeia และ ในปี ค.ศ.1940
Pontemp สามารถสกดสาร ั Asiaticoside จากบัวบกได้สำเร็จ และในปี ค.ศ.1945 Polonsky และคณะประสบความสำเร็จในการวิเคราะห์หาสูตรโครงสร้างของ
สารสำคัญในกลุ่ม triterpnoids ของบัวบก
ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จนถึงปัจจุบัน (Brinkhaus et al., 2000)
บัวบกเป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี
ลำต้นทอดเลื้อยไปตามผิวดิน แตกรากและใบตามข้อ ใบ เป็นใบเดี่ยว
ลักษณะเป็นรูปไตหรือค่อนข้างกลม โคนใบเว้า ขอบใบหยัก ออกเป็นกระจุกที่ข้อ ข้อ ละ 2-10 ใบ (อุไร, 2547) กานใบยาวชูขึ้น ออกดอกเป็นช่อคล้ายร่ม สีม่วงแดง มีใบประดับรูปรีหุ้ม
อยู่แต่ละช่อมีดอกย่อย 3 -6 ดอก มีกลีบดอก 5 กลีบ
มีเกสรตัวผู้ 5 อันสั้นๆ
ออกระหวางกลีบดอก รัง ่ ไข่มีกานเกสรตัวเมีย 2 อัน ค่อนข้างสั้น ปลายเป็นเส้นเล็กๆ 2 เส้น กานดอกสั้น แตกออกมาจากโคน ใบ ผลมีสีเขียวหรือขาว ค่อนข้างกลม
ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร
เมื่อผลแก่สามารถแตก ได้ พบตามที่ลุ่มชื้นแฉะ ตามท้องนา ริมหนองน้ำ (นันทวัน
และอรนุช, 2541)
การเตรียมพื้นที่ปลูก
ไถพรวนดินให้ร่วนซุย ความยาวขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่และความ
สะดวกในการปฏิบัติงาน ตากดินไว้ 15 วัน แล้วแต่งแปลงและร่องระบายน้ำให้ดี ใส่ปูนขาว 100 กิโลกรัม/ไร่ มูลไก่ เนื้อ 300 กิโลกรัม/ไร่ แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
นำพันธุ์บัวบกที่แตกจากต้นแม่ โดยให้ดิน ติดรากมาบ้าง แล้วนำมาปลูกทันที ระยะปลูก 40x40 เซนติเมตร
ควรปลูกบัวบกในช่วงเวลาเย็น เพื่อ ป้องกนไม่ให้ต้นพันธุ์บัวบกเฉาแดด จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม
เมื่อปลูกบัวบกลงแปลงได้ประมาณ 1 5 สัปดาห์ ให้ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา 8 กิโลกรัม/ไร่
รอบๆ โคนต้น แล้วรดน้ำให้ชุ่มทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ย หลังจากนั้นทุกๆ 7 วัน ให้ใส่ปุ๋ยในอัตราที่สูงขึ้นเป็น 50 กิโลกรัม/ไร่ ไปจนกระทังบัวบกอายุได้ 45 ่ วัน ก็สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ในครั้งแรก
(รักษ์,2550)
ทำได้โดยใช้เสียมเหล็กขนาดเล็กขุดเซาะบริเวณใต้ราก
แล้วดึงเอา ต้นแม่ เดิมขึ้นมา ให้เหลือไหลที่มีรากแทงลงดินไว้ 1-2 กอ เพื่อเป็นต้นพันธุ์ต่อไป นำต้นบัวบกที่
ได้มาล้างน้ำทำความสะอาดเก็บใบเหลืองและเศษวัชพืชอื่นๆ ออกนำมามัดเป็นกาๆ
แล้วตัดส่วนที่ เป็นรากทิ้งไป หลังจากเก็บเกี่ยวบัวบกแล้ว ให้กาจัดวัชพืช
พร้อมกับพรวนดิน และใส่ปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50 กิโลกรัม/ไร่
หรือใส่ทุกๆ 7 วัน
ทำเช่นนี้จะสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้อีกทุกๆ 20 วัน (รักษ์, 2550)
การศึกษาเรื่องแมลงศัตรูของบัวบกมีน้อยมาก
มีรายงานการพบเพลี้ยจักจันฝอย ด้วงกินใบ (มาลี
ตั้งระเบียบ และคณะ. 2540) หนอนกัดกินใบ
ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดเล็ก ลำตัวยาว ประมาณ 1.2 เซนติเมตร เมื่อกางปีกเต็มที่กว้างประมาณ 2 เซนติเมตร หัวสีน้ำตาล ลำตัวสีน้ำตาล อ่อน ปลายปีกหน้าและปีกหลังมีสีน้ำตาลอมเทา
หนอนชนิดนี้จะกัดกินใบจนเหลือแต่กานใบ ถ้าระบาดมากจะทำความเสียหายทั่วแปลง
(กรมส่งเสริมการเกษตร. 2543) สำหรับการป้องกันกำจัด
ให้นำเมล็ดลางสาดจำนวน 1.5 กิโลกรัมมาบด
นำไปผสมกับน้ำ 1 ปี๊บ หมักทิ้งไว้ประมาณ 5 ชั่วโมง หลังจากนั้นนำมากรองเอาแต่เฉพาะน้ำไปฉีดพนให้ทั่วแปลง
หรือนำต้นมะเขือเทศมาหันให้ละเอียด ประมาณ 2 กำมือ แช่ในน้ำร้อน 2 ลิตร ทิ้งไว้ 5 ชั่วโมง กรองเอาแต่น้ำไปฉีดพน (กรมส่งเสริม การเกษตร, 2543)
บัวบกเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณยา ตามตำราการแพทย์แผนโบราญ มีรสขมเล็กน้อยทั้ง ต้นใช้รักษาอาการช้ำในรักษาอาการอ่อนเพลีย
เมื่อยล้า เป็นยาบำรุงกาลังและบำรุงหัวใจ แก้ ท้องเสีย แก้ร้อนใน
กระหายน้ำทำให้ตัวเย็น เป็นยาขับปัสสาวะ รักษาโรคผิวหนัง แก้อาการอักเสบ
รักษาแผลสด สมานแผล บำรุงธาตุ แก้โรคเส้นประสาท แก ้ ปวดประจำเดือน
ขับเลือดให้กระจาย รักษามุตกิด ระดูขาว เป็นยาเจริญอาหาร ลดความดัน เบาหวาน
รักษาเด็กที่เป็นซางตัวร้อนและ ผอมแห้งแกโรคเรื้อน แก้กามโรค เป็นยากระตุ้น
รักษาวัณโรค รักษาโรคปากเปื่อย เจ็บคอ ปวดท้อง ท้องอืด ดีซ่านที่เกิดจากร้อนชื้น
แผลบวมอักเสบมีหนอง เมล็ดมีรสขมเย็น แก้อาการเริ่มเป็นบิด แก้ ไข้ ปวดศีรษะ
(ชยันต์ และวิเชียร, 2548)
บัวบกมีโภชนาการสารอาหารหลายชนิด เช่น
โซเดียม แมกนีเซียม แคลเซียม วิตามิน 6 ชนิดต่าง ๆ เช่น ไทอะมิน (วิตามินบี 1) ไรโบฟลาวิน
(วิตามินบี2) ไพริดอกซิน (วิตามินบี6) วิตามิน ซีและกรดอะมิโนหลายชนิด เช่น กลูตาเมต อลานีน ฮีสทีดิน ใบบัวบก 100 กรัม ให้พลังงานต่อ ร่างกาย 44 กิโลแคลอรี
ประกอบด้วยเส้นใย 2.6 กรัม เหล็ก 3.9 มิลลิกรัม แคลเซี่ยม 146 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัม วิตามินซี 4 มิลลิกรัม ไนอาซีน 0.8 มิลลิกรัม
วิตามินบีสอง 0.09 มิลลิกรัม วิตามินบีหนึ่ง 0.24 มิลลิกรัม และวิตามินเอ 10962 ไอยู (IU)
(กรมการแพทย์. 2540) ในบัวบกแห้ง 100 กรัม มี beta carotene 12.76 มิลลิกรัม xanthophylls
10.59 มิลลิกรัม phenolic compound 98.44 มิลลิกรัม วิตามินซี3.29 มิลลิกรัม วิตามินอี 0.0031 มิลลิกรัม tannin 24.28 มิลลิกรัม (นวลศรี
และอัญชนา, 2545)
สรรพคุณทางด้านวิทยาศาสตร์ จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมี
พบวาใบบัวบกประกอบด้วยสารประกอบโพลีฟีนอลที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
สามารถยับยั้งการทํางานของเอนไซม์
จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมี พบวาใบบัวบกประกอบด้วยสารประกอบโพลีฟีนอลที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
สามารถยับยั้งการทํางานของเอนไซม์ tyrosinase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ มีบทบาทในการเร่งปฏิกิริยาการสังเคราะห์เมลานิน
(จินดาพร, 2552; Nerya et al., 2003 ;
Wang et al., 2006) พบสารที่ให้รสขม vallerin และสารส่วนผสมของ triterpene และ triterpinoid
glycosides หลายชนิดได้แก่ madecassic acid,
asiatic acid, asiaticoside, oxyasiaticoside และ madecassol
(นันทวัน, 2529; Grimaldi et al., 1990) สารเหล่านี้มีฤทธิ์ในการสมานแผล
ทำให้แผลหายเร็ว มีฤทธิ์ ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอง
ฆ่าเชื้อราและลดอาหารอักเสบได้ดี (ยุวดี, 2541)
15 ประโยชน์ใบบัวบก
1. แก้ปัญหาเส้นเลือดขอด
เมื่อหลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่นก็ทำให้หลอดเลือดดำเกิดการฉีกขาดและทำให้เลือดไหลออกมาคั่งอยู่บริเวณขา
เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวมที่เรียกว่าอาการเส้นเลือดขอดนั่นเอง
โดยมีการศึกษาพบว่าการรับประทานใบบัวบก
สามารถลดอาการบวมและกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น
โดยในการศึกษานั้นได้ทำการทดลองกับอาสาสมัครกว่า 90 คน ที่มีอาการของเส้นเลือดขอด
และเมื่อรับประทานใบบัวบกเข้าไปแล้วก็พบว่าอาการเส้นเลือดขอดนั้นดีขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานยาหลอก
และเมื่อทำการอัลตราซาวด์ก็พบว่าผู้ที่รับประทานใบบัวบกมีการรั่วไหลของหลอดเลือดดำลดลงค่ะ
2. สมานแผลและรักษาโรคผิวหนังบางชนิด
หนึ่งในสารสำคัญที่ส่งผลให้ใบบัวบกกลายเป็นสมุนไพรที่มากสรรพคุณก็คือสารไตรเตอร์ปินอยด์
(Triterpenoids) ที่มีการศึกษากับสัตว์แล้วพบว่าสามารถช่วยสมานบาดแผลได้
นั่นก็เป็นเพราะว่าสารดังกล่าวจะทำหน้าที่ในการเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระให้กับบาดแผล
และช่วยกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนไปยังบริเวณบาดแผลมากขึ้น ส่งผลให้บาดแผลค่อย ๆ
หายดีขึ้นในระยะเวลาที่น้อยลง
อีกทั้งสารจากใบบัวบกก็ยังช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นได้อีกด้วย
วิธีใช้ก็ไม่จำเป็นต้องนำใบบัวบกมาตำแล้วพอกให้ยาก
เพราะเดี๋ยวนี้มีแบบที่เป็นครีมผสมสารสกัดไว้ทาโดยเฉพาะ
แค่เพียงเลือกให้เหมาะกับชนิดบาดแผลก็ช่วยได้มากเลยล่ะ
3. ระบายความร้อน
ความร้อนในร่างกายหากสูงมากเกินไปอาจจะทำให้ร่างกายเกิดอาการไข้
ตัวร้อน กระหายน้ำ ตลอดจนการอักเสบ ดังนั้นการรับประทานใบบัวบกที่มีฤทธิ์เย็น
จึงสามารถช่วยลดความร้อนในร่างกายได้
อีกทั้งยังช่วยขับพิษร้อนออกจากร่างกายได้อีกด้วย
4. ขับพิษร้อน และความชื้น
โรคต่าง ๆ ที่เกิดจากความร้อนและความชื้น อาทิ ดีซ่าน
นิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรือโรคบิด สามารถบรรเทาได้ด้วยการรับประทานใบบัวบก
เนื่องจากใบบัวบกนั้นมีฤทธิ์ขมเย็น
สามารถช่วยสลายความชื้นในร่างกายและขับความร้อนออกมาได้ แต่ก็ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม
เพราะหากรับประทานมาก ๆ อาจจะทำให้ร่างกายเย็นจนเกินไปและเป็นอันตรายได้
5. ลดความกระวนกระวาย ช่วยให้จิตใจสงบ
สารไตรเตอร์ปินอยด์
(Triterpenoids) ซึ่งเป็นสารที่อยู่ในใบบัวบกนั้น
นอกจากจะช่วยในการสมานแผลและรักษาโรคผิวหนังบางชนิดได้แล้วก็ยังมีฤทธิ์ในการลดความกระวนกระวายและช่วยกระตุ้นกลไกการทำงานของสมอง
โดยมีการศึกษาหนึ่งพบว่าผู้ที่รับประทานใบบัวบกมีแนวโน้มที่จะตกใจกับเสียงรบกวนน้อยกว่าผู้ที่รับประทานยาหลอก
แต่ก็ต้องใช้ในปริมาณที่สูงมาก จึงยังไม่มีการยืนยันแน่ชัดว่าควรใช้ปริมาณใดจึงจะได้ผลและไม่ส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพตามมาค่ะ
6. รักษาโรคหนังแข็ง
เนื่องจากใบบัวบก มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบต่าง ๆ ในร่างกาย
จึงสามารถใช้บรรเทาอาการของผู้ป่วยโรคหนังแข็งได้ โดยมีการศึกษากับผู้หญิง 13
คนที่มีอาการของโรคหนังแข็งพบว่า การใช้ใบบัวบกสามารถลดอาการปวดตามข้อ
และลดการเกิดหนังแข็ง รวมทั้งทำให้การเคลื่อนไหวของนิ้วมือเป็นไปในทางที่ดีขึ้น
แต่ทั้งนี้ก็ต้องอยู่ในปริมาณที่แพทย์ควบคุมเท่านั้น
7. ช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ
ใครที่มักจะนอนไม่หลับบ่อย
ๆ ลองหาใบบัวบกมารับประทานก็ดีเหมือนกันนะ เพราะใบบัวบกไม่เพียงแต่ช่วยลดความกระวนกระวายเท่านั้น
แต่ก็ยังช่วยให้จิตใจสงบและผ่อนคลายลงได้ ทำให้สามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น
โดยแค่เพียงรับประทานเป็นประจำก่อนนอน
ก็จะช่วยให้การนอนหลับดีขึ้นได้อย่างน่าอัศจรรย์เลย
8. ลดความดันโลหิต
กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
ได้ออกมาแนะนำว่าใบบัวบกเป็นหนึ่งในสมุนไพรที่ช่วยลดความดันโลหิตได้
เพราะเจ้าใบบัวบกนั้นจะไปทำให้หลอดเลือดดำและเส้นเลือดฝอยแข็งแรงขึ้น
อีกทั้งยังช่วยลดภาวะความเครียดอันเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง
ทั้งนี้วิธีการรับประทานก็ไม่ยาก เพียงแค่นำใบบัวบกไปคั้นน้ำแล้วนำมาดื่ม
จะนำไปผสมกับน้ำผึ้งสักเล็กน้อย หรือผสมกับน้ำผลไม้อื่น ๆ
เพื่อลดความเหม็นเขียวก็ทำได้ค่ะ
9. ลดอาการบวม
อาการบวมช้ำมีสาเหตุมาจากการที่ระบบไหลเวียนเลือดบริเวณดังกล่าวทำงานผิดปกติส่งผลให้เกิดอาการคั่งของเลือด
การรับประทานใบบัวบกไม่ว่าจะเป็นแบบน้ำคั้นดื่ม หรือแบบที่เป็นสารสกัดแคปซูล
สามารถช่วยลดอาการบวมช้ำบริเวณบาดแผลได้
รวมทั้งยังลดอาการอักเสบที่ทำให้เกิดอาการบวมได้อีกด้วย
10. บำรุงสมอง
ใบบัวบกเป็นพืชอีกชนิดที่อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
จึงช่วยป้องกันสารอนุมูลอิสระเข้าไปทำลายเซลล์สมอง
รวมทั้งช่วยคลายความอ่อนล้าของสมอง เพิ่มการทำงานของสมองและความจำ
แถมยังสามารถลดภาวะซึมเศร้า
และสามารถช่วยยับยั้งอาการของโรคอัลไซเมอร์ที่เกิดขึ้นในสมองได้
11. รักษาอาการติดเชื้อ
ใบบัวบกเป็นสมุนไพรอีกหนึ่งชนิดที่ช่วยรักษาโรคไข้หวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แถมช่วยรักษาอาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ
รวมทั้งอาการติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสต่าง ๆ ได้อีกมากมาย
เรียกได้ว่าไม่ว่าจะติดเชื้ออะไรก็ตาม ใบบัวบกสามารถช่วยรักษาได้หมด
แต่ทั้งนี้ก็ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญนะ
12. บรรเทาอาการอ่อนเพลีย
นอกจากรักษาอาการป่วยต่าง
ๆ แล้ว ใบบัวบกยังสามารถช่วยฟื้นฟูร่างกายจากความอ่อนเพลียได้
และถ้าหากรับประทานในช่วงอากาศร้อน ๆ ด้วยละก็
น้ำใบบัวบกก็สามารถช่วยลดความร้อนในร่างกายและดับกระหายได้เป็นอย่างดีเลยเชียวล่ะ
13. บำรุงผิวพรรณให้อ่อนเยาว์
ใบบัวบก เป็นอีกหนึ่งในสมุนไพรเพื่อความงามที่อยู่ใกล้ตัวมาก ๆ
ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะใบบัวบกมีสารที่ช่วยส่งเสริมการสร้างคอลลาเจนและอิลาสตินในร่างกาย
ช่วยให้ผิวพรรณนุ่มชุ่มชื้น ดูอ่อนเยาว์ นอกจากนี้สารต้านอนุมูลอิสระในใบบัวบกก็ยังช่วยยับยั้งการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
จึงไม่น่าแปลกเลยล่ะถ้าคุณจะได้เห็นชื่อของเจ้าใบบัวบกเป็นหนึ่งในส่วนผสมของเครื่องประทินผิว
ทั้งนี้ยังสามารถนำใบบัวบกสด ๆ มาใช้พอกหน้าได้อีกด้วย
14. กำจัดเซลลูไลท์
สาว ๆ
ที่หนักใจกับเซลลูไลท์ที่เป็นศัตรูความงามของคุณสาว ๆ อยู่
ขอบอกใบบัวบกช่วยคุณได้ค่ะ
แค่เพียงรับประทานใบบัวบกเป็นประจำก็จะช่วยให้เซลล์ไขมันเซลลูไลท์ถูกขับออกมาจากร่างกายได้ง่ายขึ้น รวมทั้งช่วยให้ระบบไหลเวียนเลือดทำงานได้ดีขึ้น และลดการอักเสบอันเกิดจากเซลลูไลท์ได้อีกด้วยล่ะ
15. บำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ
หลาย ๆ
คนที่มีปัญหาเกี่ยวกับผมร่วงก็คงเสาะหาทุกวิถีทางเพื่อบำรุงให้เส้นผมและหนังศีรษะแข็งแรงเพื่อที่จะได้มีผมดกดำ
ใบบัวบกก็เป็นอีกสมุนไพรหนึ่งที่มีสรรพคุณโดดเด่นในด้านนี้
โดยปัญหาผมร่วงส่วนใหญ่ก็เกิดจากรากผมที่อ่อนแอและการไหลเวียนของเลือดบนหนังศีรษะไม่ดี
ซึ่งใบบัวบกนี้มีฤทธิ์ในการกระตุ้นการไหลเวียนเลือดบริเวณหนังศีรษะ
และยังช่วยบำรุงให้รากผมแข็งแรง
ป้องกันผมร่วงทำให้ผมที่ขึ้นใหม่มีความแข็งแรงและดกดำเงางามได้โดยไม่ต้องพึ่งสารเคมีแต่อย่างใด
เมื่อหลอดเลือดสูญเสียความยืดหยุ่นก็ทำให้หลอดเลือดดำเกิดการฉีกขาดและทำให้เลือดไหลออกมาคั่งอยู่บริเวณขา
เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบวมที่เรียกว่าอาการเส้นเลือดขอดนั่นเอง
โดยมีการศึกษาพบว่าการรับประทานใบบัวบก
สามารถลดอาการบวมและกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดให้ดีขึ้น
โดยในการศึกษานั้นได้ทำการทดลองกับอาสาสมัครกว่า 90 คน ที่มีอาการของเส้นเลือดขอด
และเมื่อรับประทานใบบัวบกเข้าไปแล้วก็พบว่าอาการเส้นเลือดขอดนั้นดีขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานยาหลอก
และเมื่อทำการอัลตราซาวด์ก็พบว่าผู้ที่รับประทานใบบัวบกมีการรั่วไหลของหลอดเลือดดำลดลงค่ะ
สรรพคุณทางยา บัวบกเป็นยาได้ทั้งต้นสด ใบและเมล็ด
การนำบัวบกมาใช้เป็นยา ควรเลือกเฉพาะใบที่สมบูรณ์เต็มที่ มีสรรพคุณหลายอย่าง เช่น
แก้เจ็บคอได้
ทำให้มีความสดชื่น แก้ช้ำใน ชุ่มคอ
สามารถแก้โรคความดันโลหิตสูงได้เป็นอย่างดี
ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
เมื่อดื่มน้ำใบบัวบกทุกวัน
เป็นประจำใน 1
สัปดาห์
จะเห็นผลได้ทันทีว่าสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณอย่างอื่น คือ บำรุงกำลัง บำรุงหัวใจ
แก้อ่อนเพลีย กระหายน้ำ ช่วยขับปัสสาวะ รักษาบาดแผล
แก้ปวดเมื่อย โรคเรื้อน กามโรค
และตับอักเสบ
ส่วนเมล็ดมีรสขมเย็น แก้บิด แก้ไข้
ลดอาการปวดศีรษะได้
ประโยชน์ทางอาหาร
ส่วนของบัวบกที่ใช้ได้ ได้แก่ ใบ เถา มีรสกรอบมันรับประทานเป็นผักสด และสามารถปรุงเป็นเครื่องดื่มได้
ใบบัวบกนำมารับประทานเป็นผักสดกับก๊วยเตี๋ยวผัดไทย จะเข้ากันได้ดี หรือรับประทานกับแกงเผ็ดต่าง ๆ ที่มีกระทิ
หรือนำใบมาแกงคั่วกับกุ้งสด
หรือเนื้อหมูก็ได้ มีรสชาติดี เช่นกัน และที่นิยมกัน ก็คือ ทำเป็นเครื่องดื่ม หรือน้ำใบบัวบกนั่นเอง
เพราะมีกลิ่นหอมเฉพาะ รสดี ชวนดื่ม ถ้าใส่น้ำตาลสักเล็กน้อย
และใส่น้ำแข็งให้เย็นจัดยิ่งชวนดื่ม ราคาไม่แพงเหมือนน้ำผลไม้ กล่อง
หรือผลไม้กระป๋องหลาย ๆ ยี่ห้อ
สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของใบบัวบก
100 กรัม
จะให้พลังงานต่อร่างกาย
ประมาณ 44 กิโลแคลอรี่
ซึ่งประกอบด้วยส่วนประกอบ
ดังนี้
น้ำ 86.0 กรัม
คาร์โบไฮเดรต 7.1 กรัม
โปรตีน 1.8 กรัม
ไขมัน
0.9 กรัม
เส้นใย 2.6 กรัม
แคลเซียม 146 มิลลิกรัม
ฟอสฟอรัส 130 มิลลิกรัม
เหล็ก 3.9 มิลลิกรัม
วิตามิน เอ 10.962 IU
วิตามินบี 1 0.24 มิลลิกรัม
วิตามินบี 2 0.09 มิลลิกรัม
ไนอาซีน 0.8 มิลลิกรัม
วิตามินซี 4 มิลลิกรัม
วิธีทำ น้ำใบบัวบก
1. ล้างใบบัวบกให้สะอาด
สะเด็ดน้ำออกจนหมด จากนั้นหั่นเป็นท่อนสั้น ๆ เตรียมไว้
2. ต้มน้ำกับใบเตยจนเดือด
พักทิ้งไว้จนน้ำอุ่น
3. แบ่งใบบัวบกเป็น 6 ส่วน ทยอยใส่ลงในเครื่องปั่น ตามด้วยน้ำต้มสุกที่อุ่นแล้ว 1 ถ้วยลงปั่นจนละเอียดเป็นน้ำ ทำซ้ำจนหมด ยกลงกรองด้วยผ้าขาวบาง
เอาแต่เฉพาะน้ำ เตรียมไว้
4. ใส่น้ำเชื่อมลงในน้ำใบบัวบก
คนผสมให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ ใส่น้ำแข็งลงในแก้ว เทน้ำใบบัวบกใส่ลงไป พร้อมดื่ม
หรือเทขวดปิดฝาให้สนิท นำเข้าตู้เย็น เก็บไว้ดื่มได้
อ้างอิง
1.
Pharmacological Review on Centella
asiatica: A Potential Herbal Cure-all.". Indian J Pharm Sci:
546–56. September 2010.↑ พงศ์ศักดิ์ รัตนชัยกุลโสภณ และ ปาริชาติ พุ่มขจร. 2553. การใช้สมุนไพรในการป้องกันและรักษาโรคในปลา วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่12 ฉบับที่4 กรกฎาคม 2553 63 -71↑ อัฐญาพร ชัยชมภู และนฤมล ทองไว. 2554. การยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรคบางชนิดโดยใช้สารสกัดสมุนไพรพื้นบ้าน.
การประชุมวิชาการครั้งที่ 8 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
กำแพงแสน จินดาพร คงเดช. 2551. การผลิตสารยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส
และสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชเพื่อใช้ในการผลิตเครื่องสำอาง.
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี↑ นิดดา หงษ์วิวัฒน์. บัวบก อาหารบำรุงสมอง. ครัว. ปีที่ 18 ฉบับที่ 212 เดือนกุมภาพันธ์ 2555 หน้า 18-26↑ เมฆานี จงบุญเจือ และสมพิศ คลี่ขยาย. อาหารปักษ์ใต้ บ้าบ๋า
ย่าหยาในอันดามัน. กทม. เศรษฐศิลป์ 2556↑ เศรษฐมนตร์ กาญจนกุล. ไม้มีพิษ. กทม.
เศรษฐศิลป์. 2552
1.
https://health.kapook.com/view130805.html